MIDI ภาษาที่นักทำเพลงควรรู้

Last updated: 20 ก.พ. 2563  |  3427 จำนวนผู้เข้าชม  | 

MIDI  ภาษาที่นักทำเพลงควรรู้

       สำหรับนักดนตรีที่มีความฝันอยากผลิตเพลงของตัวเองขึ้นมาสักเพลงนั้น และอยากจะทำ Demo เพลงที่ตัวเองแต่งไว้จากที่บ้านบนคอมเพิวเตอร์ของตัวเองเพื่อให้สมาชิกในวงได้เข้าใจถึงจินตนาการของตัวผู้แต่ง ยิ่งเราสามารถทำ Demo ตัวอย่างเพลงของเราได้สมบูรณ์มากกว่าเท่าไหร่ สมาชิกในวงก็จะมีความเข้าใจถึงรูปร่างของเพลงในจินตนาการของเรามากขึ้นเท่านั้น. การที่เราจะสามารถทำ Demo  เพลงของเราออกมาได้สมบูรณ์ที่สุดนั้น นอกการการที่เราจะบันทึกเสียงกีตาร์กับเสียงร้องไกด์ลงไปใน Demo  นั้น เราสามารถที่สร้างไลน์เครื่องดนตรีอื่นเช่น กลอง เบส synth piano จากวิธีการที่เรียกว่า “การเขียน MIDI” ได้  ถ้าหากว่าคนไหนมีความชำนาญในการเขียน MIDI  มากๆก็สามารถที่ทำเพลงทั้งเพลงขึ้นมาจากการเขียน MIDI ทั้งหมดเรียกว่าจบงานได้ภายในตัวคนเดียวได้เลย 

    MIDI นอกจากใช้เขียนสร้างเสียงดนตรีแล้ว ยังใช้ประโยชน์ในดนตรีได้อีกหลายอย่างเช่น การควมคุมการเปิดปิดระบบแสงสี การควบคุมฟังก์ชั่นต่างๆ ของเอฟเฟกกีตาร์  หรือควมคุมการเปิดปิดเอฟเฟกกีตาร์แบบอัตโนมัติ ในการแสดงดนตรีสด ได้อีกด้วย

   สกิลการเขียน MIDI นั้นมีความจำเป็นมาก ๆ สำหรับคนที่อยากจะเป็นนักเขียนบีทหรือผลิตดนตรีแนว Electronic หรือแนวดนตรีอื่นๆ รวมถึงคนที่อยากจะเป็นแต่งเพลงสำหรับภาพยนตร์ ที่อยากทำ Flim Score  ก็สามารถเขียน MIDI  วง Orchestra ทั้งวงได้อย่างสบาย วันนี้เพจบันทึกเสียงจะมาเล่าความเป็นมาของของ MIDI ว่ามีความเป็นมาอย่างไรกันบ้าง


   MIDI ย่อมาจาก  (Musical Instrument Digital interface) เป็น Protocol (รูปแบบในการสื่อสาร) รูปแบบหนึ่งที่ใช้ในการส่งข้อมูลและสื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ ซินธิไซเซอร์ ซาวด์โมดูล คอนโทรลเลอร์ต่าง ๆ   ซึ่งจะสื่อสารกันผ่านสัญญาณไฟฟ้าแบบดิจิทัล ในการส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อโดยจะส่งไปเป็นคำสั่งข้อมูลต่าง ๆ ภายในหนึ่งชุดคำสั่งประกอบไปด้วย การเปิดปิดตัวโน้ต ค่าโน้ตดนตรี ความสั้นยาวของตัวโน้ต ค่าการควบคุมลักษณะของเสียงต่าง ๆ  แต่ไม่ได้มีเครื่องเสียงดนตรีไปด้วย  MIDI จึงมีขนาดข้อมูลที่ค่อนข้างเล็กมาก


ยกตัวอย่างชุดคำสั่งข้อมูล MIDI  แบบเข้าใจง่าย ๆ เช่น เมื่อเราส่งชุดคำสั่ง MIDI 

หนึ่งคำสั่งจะประกอบไปด้วย

1.Note On  คือการเปิดโน้ต

2.ค่าโน้ต Note  C. 

3.ความยาวโน้ตเป็น โน้ตตัวดำ


4.น้ำหนักระดับความดัง(Velocity) 100 ฟรือคุณสมบัติต่าง ๆ


5.Note Off คือการปิดโน้ต หรือจบชุดคำสั่ง

   เมื่อเอาชุดคำสั่งนี้ส่งข้อมูลไปยังแซมเพลอร์ หรือ ซาวด์โมดูล ในช่องของเสียงเปียโน.ก็จะทำให้ได้ยินเสียงเปียโน ที่เป็นเสียงโน้ตตัว C ยาวเท่ากับโน้ตตัวดำ ความดังที่ 100 ออกมาให้เราได้ยิน แต่ถ้าเราส่งชุดข้อมูลนี้ไปยังซาวด์โมดูลเสียงออร์แกน เราก็จะได้ยินเสียงออร์แกน  ที่เป็นเสียงโน้ตตัว C ยาวเท่ากับโน้ตตัวดำ ความดังที่ 100 เช่นกัน.



จุดเริ่มต้นของ MIDI เกิดขึ้นในงาน NAMM !!!
  
    เริ่มต้นมาจากการพูดคุยกันของ 3 ค่ายซินธิไซเซอร์ คือ Oberheim Electronics , Roland , Sequential Circuits  ซึ่งทั้งหมดเกิดขึ้นในงาน NAMM Show ปี คศ.1981 โดยการพูดคุยเพื่อหาจุดร่วมกันในการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องมือให้เป็นมาตราฐานเดียวกัน โดยก่อนหน้านั้นมีการใช้ Protocol  ที่เป็นของตัวเอง ซึ่งทำให้เกิดข้อจำกัดในการใช้งานของผู้ใช้ , หลังจากที่มีการพูดคุยกันภายในงานปีนั้น ทั้งสามค่ายต่างกลับไปโน้มน้าวเชิญชวนให้ผู้ผลิตรายอื่น ๆ มาเข้ามาร่วมการใช้งาน Protocol  ตัวใหม่ตัวนี้ ซึ่งได้รับความสนใจจากทางญี่ปุ่นทำให้ได้ Yamaha ,Korg  ,Kawei  มาเข้าร่วมด้วย ทำให้ MIDI 1.0 ถือกำเนิดขึ้น  แต่ว่าการที่มาตราฐานการเชื่อมต่อ MIDI ออกมาใหม่ ๆ ก็เกิดการแข่งขันกันระหว่างผู้ผลิตหลาย ๆ เจ้า เพื่อใช้ประโยชน์จากมาตราฐานใหม่นี้ จึงมีการออกแบบอุปกรณ์มาอย่างมากมายแต่ในขณะนั้นยังไม่มีการกำหนดรูปแบบคำสั่งที่เป็นมาตราฐาน จึงทำให้เกิดปัญหากับผู้ใช้งานถ้ามีการใช้เครื่องมือที่ต่างยี่ห้อกันทำให้เกิดการส่งคำสั่งที่ผิดเพี้ยนไปจากที่เคยตั้งค่ามา การทำงานร่วมกันในระบบ MIDI ในขณะนั้นจึงเป็นเรื่องที่น่าลำบากใจ หรือบีบบังคับให้นักดนตรีต้องใช้เครื่องดนตรีเพียงแบรนด์เดียว

 


GM. (General MIDI)

 .  จนกระทั่งในปี 1991 ได้มีประกาศมาตราฐานเกี่ยวกับชุดคำสั่งมาตราฐานสำหรับ MIDI ขึ้นมาเป็นครั้งแรก โดยมีชื่อเรียกว่า The General MIDI System Level 1 หรือเรียกกันทั่วไปว่า General MIDI (GM) อันเกิดจากความร่วมมือระหว่างกลุ่มผู้ผลิตในญี่ปุ่นที่เรียกตัวเองว่า Japanese MIDI Standards Committee (JMSC) กับกลุ่มผู้ผลิตทางอเมริกาที่ชื่อว่า American MIDI Manufacturers Association (MMA). เป็นกำหนดค่ามาตราฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ ตั้งแต่การแบ่งกลุ่มเครื่องดนตรี จำนวนเครื่องดนตรีทั้ง 128 ชนิด ความสามารถในการเล่นโน้ตพร้อมได้อย่างน้อย 24 ตัวพร้อมกัน เป็นต้น



GS ,GM2

      หลังจากที่ GM ได้ผ่านข้อตกลงและถูกใช้งานอย่างดีมาอย่างยาวนาน เป็นธรรมดาที่ผู้ผลิตเครื่องดนตรีคิดว่าเสียงที่มีใช้อยู่ เริ่มไม่พอใช้งาน และเริ่มอยากได้เสียงที่มีความซับซ้อนพิสดารมากขึ้น. โดยแนวคิดนี้เกิดขึ้นจาก Roland ผู้เป็นผู้ผลิตเครื่องดนตรีชั้นของโลกในขณะนั้น ได้เพิ่มเสียงเครื่องดนตรีเข้าไปจากเดิมที่มีอยู่ โดยใช้ชื่อใหม่ว่า GS ( Roland General Standard). โดยใช้เสียงเดิม 128 เสียงแต่เพิ่มเสียงเป็น 189 เสียง ทำให้เกิดปัญหากับผู้ที่ใช้งานบางส่วนที่ใช้งาน GS แล้วต้องไปต่อเครื่องมือที่ เป็น GM รุ่นเก่า ทำให้เสียงไม่ออก หรือเสียงมาไม่ครบ  ในภายหลัง Roland จึงแก้ปัญหาโดยการผลิต “ Sound Module “ ขึ้นมาให้ใช้งานเพิ่มเติม

        ในปี 1999 สมาคม AMEI ของทางญี่ปุ่น ได้พัฒนาและออกข้อตกลง ให้มี GM version 2 หรือที่เรียกว่า GM2 ออกมา โดยเพิ่มฟังก์ชั่นเพิ่มประสิทธิภาพในกาาทำงานให้ดีมากขึ้น สร้างความสมจริงมากขึ้น  โดยที่สามารถเล่นโน้ตพร้อมกันสูงสุดได้มากถึง 32 ตัวโน้ตในครั้งเดียว ซึ่งเรายังคงใช้งาน GM2 จนมาถึงปัจจุบัน



การเชื่อมต่อ MIDI

MIDI 1.0 การเชื่อมต่อกับเครื่องดนตรี จะมี MIDI Port ตั้งแต่ 1-3 ช่อง. ประกอบไปด้วย

MIDI In. = ใช้สำหรับรับข้อมูล MIDI จากภายนอก

MIDI Out = ใช้สำหรับส่งข้อมูล MIDI จากตัวเองออกไปยังเครื่องมือปลายทาง.

MIDI Thru = ใช้สำหรับส่งผ่านข้อมูล MIDI ผ่านไปยังเครื่องมือถัดไป  ใช้ในกรณีการเชื่อมต่อ MIDI กับเครื่องมือที่มากกว่า 2 ชุดขึ้นไป



   ส่วนหัว Connector ของMIDI ในรุ่นแรกๆ จะ Connector แบบ DIN 5pin  ตรงส่วนนี้ใช้เชื่อมต่อกับเครื่องดนตรีกับ MIDI Port ต่างๆ
   ส่วนปลายทาง ที่ใช้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ในยุคแรกๆ จะเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านช่อง Gameport  ซึ่งเป็นแบบ DA-15  ก่อนจะมีการพัฒนาให้มีการเชื่อมต่อผ่าน USB , Firewire รวมไปถึง Ethernet ได้   


ซึ่งในปัจจุบันการเชื่อม MIDI ของ Keyboard Controller ใช้เพียงแค่สาย USB เพียงเส้นเดียวเท่านั้น ถือว่าสะดวกสบายสุด ๆ แล้วในตอนนี้ อาจจะทำใหัคนยุคใหม่ ๆ ไม่ได้ใช้งานสาย MIDI แบบสมัยก่อนแล้ว. แต่ใน Audio interface รุ่นใหม่ๆ ก็ยังคงมี MIDI port แถมมาให้อยู่ในบ้างรุ่น




อุปกรณ์ชุดแรก ๆ บนโลกเรา ที่รองรับระบบ MIDI


Keyboard - Roland Jupiter 6 



Drum Machine - Roland TR-909



Sequencer - Roland MSQ-700



Computer ที่ Support ระบบ MIDI  - NEC PC-88 ,PC98.


 

  ทักษะการเขียน MIDI มีส่วนช่วยในการทำงานเพลงได้มาก ถ้าหากคนนั้นมีความชำนาญ.และเข้าใจถึงธรรมชาติของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น. ครั้งหน้าบันทึกเสียงจะมาแชร์เทคนิคการเขียน MIDI ให้ได้เสียงที่ออกมาเป็นธรรมชาติ รอติดตามกันนะครับ ส่วนใครอยากได้ MIDI Controller สักเครื่อง ไปเขียน MIDI ที่บ้าน ก็สามารถทัก Inbox เพจบันทึกเสียงมาได้เลยจ้า


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้